:: Kunagorn Sirikup :: C# Developer

16/5/56

Introduction Google Anaytics Part 2

หลังจากที่ได้แนะนำเกี่ยวกับ Google Analytics และตัวอย่างการใช้ Asynchronous Syntax ในเบื้องต้นแล้ว วันนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับความสามารถอื่นๆเพิ่มเติมนะครับ


Tracking Event Handlers
เป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่ใช้กันบ่อยๆ มีประโยชน์เมื่อเราต้อง Track Data ของ
Event ต่างๆที่เกิดจาก HTML ภายในเพจ เช่น Click , Change ด้วย Asynchronous tracking syntax
ดังนั้นจึงไม่ต้องพึ่งการใช้ DOM event handlers ก็ได้ โดยใช้คำสั่ง ดังนี้

_gaq.push(['_trackEvent', 'Category', 'Action', 'opt_label ' ,'opt_value'])


    String   category กลุ่มของ event ที่เรากำหนดไว้เพื่อแบ่งเรื่องราวของการ Tracking Event เป็นกลุ่มๆ ในตัวอย่างนี้ขอยกตัวอย่าง Category เป็น 'bookinghotel'
    String
       action
    ชื่อ Event ที่กำหนดเพื่อทำการ Tracking ในตัวอย่างนี้อาจจะเป็น 'booking' , 'cancellation' , 'changedate'
    String
       opt_label 
    คำอธิบายเกี่วกับ Event พารามิเตอร์นี้เป็น Optional จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
    Int
            opt_value 
    ค่าที่เกี่ยวข้องกับ Event  พารามิเตอร์นี้เป็น Optional จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

ที่นี้ลองมาดูตัวอย่างการใช้คำสั่ง _trackEvent นะครับ จากตัวอย่างนี้จะ Track การทำงานเมื่อมีการกดปุ่มจองข้อมูลโรงแรม โดยเราจะกำหนด Category เป็น 'bookinghotel' และ Action เป็น 'booking' จะได้ Code ดังนี้

<button onclick="_gaq.push(['_trackEvent', 'bookinghotel', 'booking'])"/><button>

One Push, Multiple Commands

จากที่เคยกล่าวไว้ใน Part 1 ว่า _gaq เป็น Asynchronous Syntax ทำงานแบบ Queue โดยจะ push API call เข้ามาใน Queue ดังนั้นเราจึงสามารถส่ง Command หลายๆอันโดยใช้คำสั่ง push เพียงครั้งเดียวก็ได้  หรือจะ push ทีละ Command ก็ได้

_gaq.push(
  ['_setAccount', 'UA-XXXXX-X'],
  ['_setDomainName', 'example.com'],
  ['_setCustomVar', 1, 'Section', 'Life & Style', 3],
  ['_trackPageview']
);


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น